รวมคอร์สออนไลน์และแหล่งเรียนรู้ออนไลน์แบบครบวงจร(Online Courses and Online Learning Platform Collection)
เกริ่นนำ…

ปัจจุบันการเรียนรู้ภายในห้องเรียนนั้นไม่เพียงพอต่อการทำงานหรือการใช้งานอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยยกระดับความรู้ให้มีมากขึ้นไปอีก ดั่งคำที่กล่าวว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” ซึ่งส่วนที่จะมาช่วยการขับเคลื่อนการเรียนรู้ดังกล่าว หนึ่งในนั้นก็คือแหล่งรู้ออนไลน์(Online Learning Platform)นั่นเอง โดยแหล่งรู้ออนไลน์จะเป็นอย่างไร มีที่ใดบ้าง ไปดูกันเลยครับ
แหล่งเรียนรู้ออนไลน์(Online Learning Platform)คืออะไร?

แหล่งเรียนรู้ออนไลน์(Online Learning Platform) หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า MOOC(Massive Open Online Course) ที่จะเป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่ผู้ให้บริการจะทำการรวบรวมคอร์สเรียนต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญ สถาบันการศึกษา รวมไปถึงบรรดาบริษัทเอกชนชั้นนำ หรืออาจจะเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มนั้นๆเอง มาทำการเปิดการเรียนการสอน หรือคอร์สอบรมบนแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้จากแพลตฟอร์มดังกล่าวได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั่นเองครับ โดยคอร์สออนไลน์จะมีทั้งแบบฟรีและไม่ฟรี และมีทั้งแบบได้และไม่ได้ประกาศณียบัตร(Certifications) หรือรวมถึงได้หน่วยกิตสำหรับการเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการหรือคอร์สนั้นๆครับผม ต้องลองอ่านรายละเอียดของคอร์สหรือแพลตฟอร์มเหล่านั้นให้ดีๆครับ
แล้วแหล่งเรียนรู้ออนไลน์นั้นมีที่ไหนบ้าง ผมจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ครับ ได้แก่
- แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ภายในประเทศ
- แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ของต่างประเทศ
1.แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ภายในประเทศ
แหล่งรู้ภายในประเทศจะมีหลายแหล่งมากๆเลยครับ ส่วนใหญ่จะเป็นของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้นครับ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีแพลตฟอร์มเป็นของตนเอง นอกจากนี้ยังมี ThaiMOOC ซึ่งเป็นของหน่วยงานรัฐบาล โดยมีพื้นฐานมาจากแพลตฟอร์ม Open edX(หน้าตาจะคล้ายๆแพลตฟอร์ม edX) อีกด้วยครับ
จากเท่าที่ผมรวบรวมได้ โดยจะขอแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย มีดังนี้ครับ
- แพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย
- แพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ
แพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย

Chula MOOC เป็นแพลตฟอร์มของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง โดยจะมีคอร์สเกือบทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์หรือศิลปกรรมศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมาย คอร์สเรียนจะมีทั้งเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าเรียนได้ และมีคอร์สเฉพาะสำหรับนิสิตและบุคลากรของสถาบัน โดยคอร์สต่างๆจะเปิดเป็นรอบๆให้ลงทะเบียนเรียนครับ โดยคอร์สต่างๆสามารถเรียนได้ฟรีครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://mooc.chula.ac.th/

Space by CBS เป็น Platform ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคอร์สจะเน้นไปทางด้านธุรกิจ การนำเสนองาน ระบบกระบวนการคิด และซอฟต์แวร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องการทางธุรกิจครับ โดยคอร์สต่างๆสามารถเรียนได้ฟรีครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://space.cbs.chula.ac.th/
3.CMU MOOC

CMU MOOC เป็นของทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ โดยจะมีคอร์สเกือบทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมาย โดยคอร์สต่างๆจะเปิดบน ThaiMOOC ซึ่งผมจะทำการอธิบายในลำดับถัดๆไปครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://mooc.cmu.ac.th/
4.PSU MOOC

PSU MOOC เป็นแพลตฟอร์มของทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ครับ โดยจะมีคอร์สเกือบทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยีหรือศิลปกรรมศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมายครับ โดยคอร์สต่างๆสามารถเรียนได้ฟรีครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://mooc.psu.ac.th/
แพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ

SkillLane เป็นแพลตฟอร์มที่จะรวบรวมคอร์สของผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาเปิดสอน มีครอบคลุมในหลายๆด้านครับ รวมไปถึงคอร์สติวเตรียมสอบทั้งหลาย และจุดเด่นที่สำคัญได้ทำการเปิดหลักสูตรปริญญาโทแบบออนไลน์ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ โดยคอร์สต่างๆจะต้องเสียเงินเป็นรายคอร์สครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.skilllane.com
2.UCourse

UCourse จะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นไปทางคอร์สเกี่ยวกับการลงทุน การเงิน และธุรกิจต่างๆครับ อย่างไรก็ตามยังพอมีคอร์สด้านอื่นๆอยู่บ้างครับผม โดยคอร์สต่างๆจะต้องเสียเงินเป็นรายคอร์สครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ucourse.co/

Sanook Learning จะเป็นแพลตฟอร์มที่มีคอร์สแนวคล้ายๆกับ SkillLane ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ครับ โดยคอร์สต่างๆจะต้องเสียเงินเป็นรายคอร์สครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://learning.sanook.com/

Dek-D’s School จะเป็นแพลตฟอร์มที่โฟกัสไปยังผู้ใช้ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาเป็นหลัก เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือเรียนรู้เพิ่มเติมนอกจากการเรียนภายในห้องเรียนครับ โดยคอร์สต่างๆจะต้องเสียเงินเป็นรายคอร์สครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://school.dek-d.com/
5. ThaiMOOC

ThaiMOOC เป็นแพลตฟอร์มที่มีพื้นฐานมาจาก Open edX จะสังเกตได้ว่าระบบจะค่อนข้างใกล้เคียงกันนั่นเอง โดยเป็นโครงการที่ภาครัฐได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆภายในประเทศไทยมาเปิดการเรียนการสอนคอร์สต่างๆบนแพลตฟอร์มดังกล่าวนี้ครับ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้ประชาชนเข้ามาใช้งานได้นั่นเองครับ สามารถกล่าวได้ว่าแพลตฟอร์มรวบรวมเอาคอร์สที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆภายในประเทศมารวบรวมไว้ได้มากที่สุดนั่นเองครับ โดยคอร์สต่างๆสามารถเรียนได้ฟรีครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://thaimooc.org/

ทรูปลูกปัญญาเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้เน้นไปเฉพาะคอร์สออนไลน์เท่านั้น แต่ยังหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทความต่างๆ รวมไปถึงการแนะนำการเรียนต่อ และอื่นๆอีกมากมายครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.trueplookpanya.com/
2.แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ของต่างประเทศ
แหล่งรู้ของต่างประเทศจะมีหลายแหล่งมากๆเลยครับ มากกว่าภายในประเทศพอสมควร ที่โด่งดังมากๆก็จะมี edX, Coursera, Udemy เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีของบริษัทเอกชนชั้นนำและมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกอีกเพียบเลยครับ
จากเท่าที่ผมรวบรวมได้ โดยจะขอแบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย ซึ่งมีดังนี้ครับ
- แพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย
- แพลตฟอร์มของบริษัทเอกชน
- แพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ
แพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย

MIT OpenCourseWare เป็นแพลตฟอร์มของทาง Massachusetts Institute of Technology เปิดสอนครอบคลุมแทบทุกศาสตร์ครับ โดยจะเป็นการแชร์พวก Study Materials ต่างๆจำพวก สไลด์และวิดีโอประกอบการสอน เป็นต้น ซึ่งเราสามารถเข้าใช้งานได้ฟรีๆเลย
รายละเอียดเพิ่มเติม https://ocw.mit.edu
2.NPTEL

NPTEL ย่อมาจาก National Programme on Technology Enhanced Learning ซึ่งเป็นการรวมมือกันของ Indian Institute of Technology ทั้ง 7 สาขาทั่วประเทศอินเดีย โดยเป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการสอนรายวิชาทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีเป็นหลัก ใครอยากฟังภาษาอังกฤษสำเนียงอินเดียสามารถลองในแพลตฟอร์มตัวนี้เลยครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://nptel.ac.in/

Harvard Online Courses เป็นของทาง Harvard University ครับ โดยจะมีคอร์สเกือบทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมาย โดยคอร์สต่างๆจะเปิดบน edX ซึ่งผมจะทำการอธิบายในลำดับถัดๆไปครับ(อันนี้มาคล้ายๆของ CMU MOOC ครับ เหอๆ)
รายละเอียดเพิ่มเติม https://online-learning.harvard.edu

Stanford Online เป็นของทาง Stanford University ครับ โดยจะมีคอร์สเกือบทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์หรือเทคโนโลยี และอื่นๆอีกมากมาย โดยคอร์สต่างๆจะเปิดบน edX ซึ่งผมจะทำการอธิบายในลำดับถัดๆไปครับ(อันนี้มาคล้ายๆของ CMU MOOC และ Harvard Online Courses ครับ เหอๆ)
รายละเอียดเพิ่มเติม https://online.stanford.edu/

หรือชื่อเต็มๆ Oxford Continuing Education เป็นแพลตฟอร์มของทาง Oxford University จะเป็นทั้งคอร์สออนไลน์และคอร์สระยะสั้นที่ต้องไปเรียนในชั้นเรียน สำหรับคอร์สออนไลน์นั้นมีค่อนข้างเยอะพอสมควร จะเน้นไปทางปรัชญา ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์โดยมาก โดยคอร์สเรียนราคาค่อนข้างสูงพอสมควรครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.conted.ox.ac.uk/

Open University เป็นมหาวิทยาลัยแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ สามารถเรียนแบบออนไลน์เพื่อเก็บหน่วยกิตไปได้เรื่อยๆ จนครบหลักสูตร จะสามารถรับปริญญาบัตรได้ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.open.ac.uk/

University of the People เป็นมหาวิทยาลัยแบบออนไลน์เต็มรูปแบบเช่นเดียวกันกับ Open University แต่เป็นของทางฝั่งอเมริกา โดยจะเปิดการเรียนการสอนใน 4 สาขา ได้แก่ Education, Computer Science, Business Adminstration และ Health Science โดยมี 3 ระดับ ได้แก่ Associate’s Degree, Bachelor’s Degree และ Master’s Degree ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.uopeople.edu/
แพลตฟอร์มของบริษัทเอกชน

Microsoft Learn เป็นแพลตฟอร์มที่ทาง Microsoft เปิดไว้ให้ผู้ใช้งานเกี่ยวกับ Azure Cloud Computing มาเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Azure ในด้านต่างๆ โดยจะมี Built-in Lab ให้ทำระหว่างเรียน เพื่อให้เข้าใจในการใช้งาน Azure มากยิ่งขึ้นครับ นอกจากนี้แล้วยังมีบทเรียนของ Dynamics 365, Power Platform และ Windows Application Development อีกด้วยครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://docs.microsoft.com/th-th/learn/

Microsoft Educator Center เป็นแพลตฟอร์มสำหรับภาคการศึกษาโดยเน้นไปยังนักเรียนนักศึกษาหรือครูอาจารย์ ว่า Microsoft สามารถเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ได้อย่างไรบ้าง โดยคอร์สจะเป็นการใช้งานซอฟต์แวร์ของ Microsoft เกี่ยวกับการศึกษาเป็นหลักครับ โดยสามารถเข้าเรียนได้ฟรีทั้งหมดเลยครับ
— หน้าเว็บแบบใหม่ของ Microsoft Educator Center ซึ่งยังเป็น Preview อยู่ —

รายละเอียดเพิ่มเติม https://education.microsoft.com/

Google Digital Garage จะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นไปยังภาคธุรกิจขนาดเล็กและบุคคลทั่วไปที่สนใจในการนำเอาเทคโนโลยีของ Google เข้าไปใช้ในธุรกิจและอาชีพของตน โดยสามารถเข้าเรียนได้ฟรีทั้งหมดครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://learndigital.withgoogle.com

Make with Code by Google เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ความรู้ทางด้านทักษะการเขียนโปรแกรมและเป็น Community สำหรับการร่วมกันเขียนโปรแกรม โดยแพลตฟอร์มนี้จะโฟกัสไปยังกลุ่มของวัยรุ่นหญิงที่มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยี หากใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก บทความ “Google เปิดตัว Code with Google สอนเขียนโค้ด” ของทาง adpt news ได้ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.madewithcode.com
แพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ
1.edX

edX.org คือแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนออนไลน์แบบเปิด เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เกิดจากการร่วมมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายๆแห่ง อาทิ Harvard, MIT เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมี Microsoft ร่วมมือด้วยครับ โดยสามารถเข้าเรียนในคอร์สต่างๆได้ฟรี หรือจ่ายเงินเพื่อรับประกาศณียบัตร หรือ Certificate of Archievement เพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงได้ อย่างไรก็ตามมีคอร์สบางส่วนที่ผู้เรียนต้องจ่ายเงินก่อนจึงจะสามารถเข้าเรียนในคอร์สนั้นๆได้ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรระดับปริญญาโทแบบออนไลน์มากถึง 9 หลักสูตรเลยทีเดียวครับ
สามารถอ่านเกี่ยวกับ edX เพิ่มเติมได้จากบทความของผมเอง “edX แฟลตฟอร์มสำหรับการเรียนออนไลน์ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา”
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.edx.org/
2.Coursera

Coursera จะเป็นแพลตฟอร์มที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาจารย์จาก Stanford University ซึ่งจะมีคอร์สออนไลน์เป็นจำนวนมากและครอบคลุมเหมือนๆกับ edX ที่กล่าวไปในก่อนหน้านี้ โดยคอร์สต่างๆต้องเสียเงินค่าเรียนแบบเป็นรายเดือน อย่างไรก็ตามยังมีคอร์สบางคอร์สที่เปิดให้ทดลองเรียนฟรีเป็นเวลา 7 วัน นอกจากยังมีหลักสูตรปริญญาโทแบบออนไลน์มากถึง 15 หลักสูตรด้วยกันครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.coursera.org
Linkedin Learning เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบัญชี Linkedin ซึ่งเป็น Social Network ทางด้านอาชีพและธุรกิจ โดยแพลตฟอร์มนี้จะต้องเสียเงินเรียนเป็นรายเดือนเพื่อเข้าใช้งาน คอร์สฟรีจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นครับ แต่ถ้าเป็นสมาชิก Linkedin Premium จะสามารถเข้าใช้งานได้เลย ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเติมครับ คอร์สส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านธุรกิจ การทำงานในองค์กร และทางเทคโนโลยีครับ
หากใครสนใจเกี่ยวกับ Linkedin สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความของผมเอง “Linkedin คืออะไร? ทำไมเราจึงควรสมัครเพื่อใช้งานต่อไปในอนาคต…”
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.linkedin.com/learning
4.Alison

Alison จะเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมคอร์สจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมากมาย โดยสามารถเข้าเรียนได้ฟรีทุกคอร์ส แต่สำหรับประกาศณียบัตรต้องจ่ายเงินซื้อและจะได้รับหลังจากสอบผ่านแล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://alison.com/
5.Udemy

Udemy เป็นแพลตฟอร์มลักษณะคล้ายๆกับ Alison แต่ไม่สามารถเข้าเรียนฟรีได้ครับ ต้องจ่ายเงินซื้อคอร์สที่ต้องการก่อนถึงจะเข้าเรียนได้ครับ
หากใครสนใจเกี่ยวกับรายละเอียดของ Udemy สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ “Udemy : แหล่งรวมคอร์สออนไลน์ระดับโลก” ของ อ.ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้เลยครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.udemy.com
6.Udacity

Udacity จะเป็นแพลตฟอร์มที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาจารย์จาก Stanford University เช่นเดียวกันกับ Coursera (คนละกลุ่มกันนะครับ) ซึ่งจะมีคอร์สออนไลน์เป็นจำนวนมากและครอบคลุมเหมือนๆกับ edX และ Coursera ที่กล่าวไปในก่อนหน้านี้ โดยคอร์สต่างๆต้องเสียเงินค่าเรียนแบบเป็นรายคอร์ส อย่างไรก็ตามยังมีคอร์สบางคอร์สที่เปิดให้เรียนฟรีอีกด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.udacity.com

Codeacademy เป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับภาษาโปรแกรมมิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Python, JavaScript และอื่นๆอีกมากมาย โดยเน้นไปยังกลุ่ม Developer, Data Scientist จะมีทั้งคอร์สฟรีและคอร์สที่ต้องเป็นผู้ใช้ระดับ Pro ที่ต้องเสียเงินเพิ่มเติมครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.codecademy.com
8.DataCamp

DataCamp จะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นไปยังภาษาโปรแกรมมิ่งสำหรับทางด้าน Data Science, Machine Learning, Big Data ซึ่งคอร์สพื้นฐานจะสามารถเข้าเรียนได้ฟรี และคอร์สระดับที่สูงขึ้นจะต้องเสียเงินเรียนเพิ่มเติมครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.datacamp.com

FutureLearn เป็นแพลตฟอร์มที่มีลักษณะคล้ายๆ edX, Coursera หรือ Udacity โดยจะมีคอร์สของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมศาสตร์หลายแขนง นอกจากนี้ยังมี Online Degree ทั้งในระดับ Bachelor’s Degree และ Master’s Degree อีกด้วยครับ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น คอร์สประเภท Short Course สามารถเข้าเรียนได้ฟรีภายใน 4 สัปดาห์ แต่ถ้าต้องใช้เวลามากกว่านั้นจะมีค่าใช้จ่ายแบบ Subscription ครับ และ Certifications จะได้รับเฉพาะการจ่ายแบบ Subscription เท่านั้นครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.futurelearn.com
10.Khan Academy

Khan Academy เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่แสวงหากำไร สามารถเข้าเรียนได้ฟรี นอกจากนี้ยังสามารถเข้าเป็นผู้สอนหรือผู้แกครองก็ได้ เนื้อหาการเรียนจะเป็นเนื้อหาทั่วๆไปในระดับเบื้องต้น โดยครอบคลุมทุกศาสตร์ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.khanacademy.org/
11.Skillshare

Skillshare จะเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเปิดคอร์สสอน คล้ายๆกับ Alison และ Udemy ครับ โดยผู้ใช้ใหม่จะสามารถลองใช้งานแบบ Premium ได้ฟรีเป็นเวลา 1 เดือนครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.skillshare.com
12.CreativeLive

CreativeLive จะเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเปิดคอร์สสอน คล้ายๆกับ Alison, Udemy และ Skillshare ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.creativelive.com
การค้นหาคอร์สเรียนด้วยการใช้งาน Online Courses Search Engine อย่าง “Class Central”

สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะหาคอร์สเรียนอย่างไรดี โดยการหาด้วย Search Engine ของ Platform หรือแม้กระทั่ง Search Engine Platform อย่าง Bing.com, Google.com นั้นๆก็อาจไม่ครอบคลุมมากพอ ผมมีวิธีแก้ปัญหามาเสนอครับ โดยใช้ Online Courses Search Engine อย่าง “Class Central” ที่ช่วยค้นหาคอร์สตามหัวข้อที่เราต้องการได้ โดยจะรวบรวมมาจาก Online Platform ไม่ว่าจะเป็น edX, Coursera, Udacity และอื่นๆอีกหลายแห่งครับ ถือว่าครอบคลุมมากพอสมควรเลยทีเดียว
ตัวอย่างการใช้งาน Class Central

การใช้งานเหมือน Search Engine ทั่วไปครับ เราสามารถ Sorting ได้ด้วย Course Name, Start Date และ Rating ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมี Filter ต่างๆ เช่น By start date, By subject และ By language ให้ใช้งานด้วยครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.classcentral.com/
ส่งท้าย…
จากที่ได้ดูเนื้อหาด้านบนลงมาจนถึงจุดนี้แล้ว จะพบว่าแหล่งเรียนรู้ออนไลน์มีเยอะมาก อยู่ที่ว่าเราสนใจคอร์สไหน แพลตฟอร์มใด เชิญเลือกได้ตามสะดวกได้เลยครับ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมผู้อ่านต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมกันนะครับ เพราะบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำเท่านั้นเอง

สุดท้ายนี้ ถ้าบทความนี้มีข้อผิดพลาดอย่างไร หรือถ้าใครมีแหล่งอื่นแนะนำ สามารถแนะนำและติดชมเข้ามาได้ครับ และหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อผู้อ่านทุกคนนะครับ สวัสดีครับ